ประเด็นหนึ่งในเรื่องของความเท่าเทียมกันของมนุษย์
คือ การมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางสังคม อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อถกเถียงกันเรื่อยมาว่า
การใช้สิทธิเสรีภาพที่ตนพึงมีในแบบไหนและในระดับใด ที่จะไม่กระทบกระเทือนต่อผู้คนในสังคม
การแสดงสิทธิด้วยการออก “เสียง”
ก็เป็นอีกหนึ่งเสรีภาพของการแสดงออกที่ไม่ได้อ้างถึงเพียงแค่เรื่องของระดับความดังที่หนักหรือเบา
หรือแม้แต่การลงความเห็นว่าเพียงว่าเพราะหรือเพี้ยน แต่เสียงยังบอกได้ถึงประสบการณ์ที่มากน้อยของบุคคล
ตลอดจนการแสดงออกถึงความรู้สึกคับข้องใจต่อบางสิ่งบางอย่างได้อีกด้วย
ดังนั้นคนที่ไม่สามารถสื่อความในใจออกมา ก็เปรียบเหมือนเป็น “ผู้ไร้เสียง” ที่มีสิทธิแต่แสดงออกอะไรมิได้
การเปิดกว้างในการแสดงออกทางสังคมในปัจจุบันนี้ ยังคงมีข้อจำกัดบางอย่างที่เราอาจเข้าไม่ถึงและแก้ได้ยาก
หนังสือเล่มนี้ “ผู้ไร้เสียง : คำยืนยันของ คายตรีจักรวรตี สปีวาก” จึงได้สะท้อนสิทธิมนุษยชนในการออกสิทธิออกเสียงเพื่อแสดงทัศนคติหรือมุมมองต่อเรื่องราวในสังคมของผู้คนบางกลุ่มที่ไม่สามารถแสดงทรรศนะส่วนตัวตามประสบการณ์ความรู้ที่ตนเองมี
ผู้เขียนยังได้หยิบยกตัวอย่างจากผู้ไร้เสียงบางคนที่ต้องเผชิญกับความกดดันที่ไม่สามารถแสดงออกซึ่งสิทธิในด้านของการเป็นพลเมืองหรือการเป็นเพื่อนร่วมโลกอีกด้วย
แม้เนื้อหาของหนังสืออาจจะหนักแน่นไปในเชิงวิชาการแต่ก็ยังอ้างอิงความเป็นจริงในสังคมปัจจุบันที่เราต่างก็เคยพบมาแล้ว
ผมเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มที่น่าสนใจมาก ... อย่างน้อยที่สุดเราก็ได้เข้าใจและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของผู้ไร้เสียงที่ครั้งหนึ่งพวกเขาก็ได้พยายามที่จะฟันฝ่าอุปสรรคทางต่างๆ
ที่ต้องเผชิญในสังคมเพียงเพื่อให้ได้มาซึ่งความถูกต้องของสิทธิและเสรีภาพ
สารบัญ :
1. "ผู้ไร้เสียง" :
บุคคลในสถานะที่ไม่สามารถจะพูดได้
2. เสียงของผู้หญิงผิวสีจากโลกที่สาม ในโลกวิชาการตะวันตก
3. มโนทัศน์ "ผู้ไร้เสียง" : จากอำนวยสู่การลิดรอน
4. "ผู้ไร้เสียง" : ความรู้ที่ถูกปิดทับของโลกที่สาม
5. สารจาก "ผู้ไร้เสียง"
2. เสียงของผู้หญิงผิวสีจากโลกที่สาม ในโลกวิชาการตะวันตก
3. มโนทัศน์ "ผู้ไร้เสียง" : จากอำนวยสู่การลิดรอน
4. "ผู้ไร้เสียง" : ความรู้ที่ถูกปิดทับของโลกที่สาม
5. สารจาก "ผู้ไร้เสียง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น